วันอาทิตย์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16
วันพุธ ที่ 19 เมษายน 2560
เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
เขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
ตัวอย่างแผน IEP

ตัวอย่างผังกราฟฟิค
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                  นำความรู้ที่ได้จากการเขียนแผน และการได้ฝึกปฏิบัติเขียนแผน นำไปเขียนแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลได้ในอนาคตต่อไป และมีเเนวทางในการเขียนแผนที่ถูกต้องสามารถนำไปปรับใช้เองได้ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างผังกราฟฟิคต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปดัดแปลงเพิ่มเติมได้ในเนื้อหาสาระนั้นๆ

ประเมินผล
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยกันเสียงดังขณะอาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย ยิ้มแย้มเเจ่มใส มีสื่อการสอนหลากหลายรูปแบบมาเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ดู
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15
วันพุธ ที่ 12 เมษายน 2560

***ไม่มีการเรียนการสอน 
เนื่องจากหยุดเทศกาลวันสงกรานต์***



วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันพุธ ที่ 5 เมษายน 2560

*ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ได้รับเชิญ
ไปเป็นวิทยากรที่จังหวัดอ่างทอง*

วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันพุธ ที่ 29 มีนาคม 2560
กิจกรรมการเรียนรู้
1. กิจกรรมมือของฉัน
              ให้นักศึกษาวาดฝ่ามือของตนเอง โดยวาดรายละเอียดลายเส้นต่างๆให้เหมือนกัน โดยมีข้อตกลงว่านักศึกษาต้องคว่ำฝ่ามือไว้และวาดโดยไม่ดู เมื่อเสร็จแล้วครูจะเก็บรวบรวมรูปมือของทุกคนแล้วแจกรูปเพื่อให้เพื่อนไปตามหาว่ารูปนี้เป็นมือของใคร ใครที่เพื่อนตาหาพบแปลว่าวาดได้เหมือนกับมือจริง
*ข้อคิดจากกิจกรรม พฤติกรรมของเด็กครูต้องจดบันทึกไว้เสมอเพราะเมื่อผ่านไปเราอาจจะจำไม่ได้ เหมือนกับลายมือของตนเองที่ติดตัวเรามาตลอดเราก็ยังจำไม่ได้ว่าเป็นอย่างไร
2. กิจกรรมวงกลมหลากสี
          กิจกรรมนี้ครูให้นักศึกษาระบายรูปวงกลม โดยครูจะมีสีเทียนให้ กิจกรรมนี้เป็นการเเสดงออกถึงความรู้สึกของตัวเราตามหลักจิตวิทยา คือ สีที่อยู่ตรงกลางหมายถึงสีที่รู้สึกอยู่ลึกภายในจิตใจเรา และสีที่อยู่วงนอกสุดคือสิ่งที่เราเเสดงออกให้ผู้อื่นเห็น โดยเเต่ละสีจะมีความหมายของความรู้สึกต่างๆ
          ต่อมาครูให้นักศึกษาทุกคนนำรูปของตนเองไปติดบนกิ่งไม้ให้สวยงาม โดยออกไปติดทีละ 1 คน

เนื้อหาการเรียนการสอน (knowledge)
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
- เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
ระยะยาว
ระยะกำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
- น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
- น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
- น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้ะยาว
ระยะสั้น
- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ใคร                                 
อะไร                                         
เมื่อไหร่ / ที่ไหน                 
ดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
- ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
- ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
- อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
           ได้ความรู้ในเรื่องกิจกรรมการทำศิลปะเเบบร่วมมือที่อาจารย์เพิ่มเติมให้ และมีข้อคิดในการปฏิบัติตนเรื่องการสังเกตและจดบันทึกพฤติกรรมเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้นยังได้ความรู้เรื่องการเขียนแผน IEP ซึ่งการเขียนแผนนี้ไม่ยากเเละไม่มีขั้นตอนที่ซับซ้อนเหมือนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทั่วไป 
ประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน   เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนไม่พูดคุยเสียงดังขณะที่อาจารย์สอน 
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  เเต่งกายเรียบร้อยยิ้มแย้มเเจ่มใสเสมอ มีกิจกรรมใหม่ๆมาเสนอให้นักศึกษาได้เรียนรู้ เเละคอยให้คำเเนะนำนักศึกษาเป็นอย่างดี

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันพุธ ที่ 22 มีนาคม 2560
เนื้อหาการเรียนการสอน (Knowledge)
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
- เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
- ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
- เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
- เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด เกิดผลดีในระยะยาว
- เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
- แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล  (Individualized Education Program; IEP)
- โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
- การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
- การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
- การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
 3. การบำบัดทางเลือก
- การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
- ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
- ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
- การฝังเข็ม (Acupuncture)
- การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
การสื่อความหมายทดแทน  (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
- การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
- โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
- เครื่องโอภา (Communication Devices)
- โปรแกรมปราศรัย
Picture Exchange Communication System (PECS)

บทบาทของครู
- ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
- ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
- จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
- ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
- เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
- การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น

- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก
- ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
- เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครูให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น?
- อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
- ทำโดย การพูดนำของครู
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
- ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
- การให้โอกาสเด็ก
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
- ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การเเต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- อยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง
- เชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
- ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
- “ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้
จะช่วยเมื่อไหร่ ?
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
1.แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
2.เรียงลำดับตามขั้นตอน
การเข้าส้วม
- เข้าไปในห้องส้วม
- ดึงกางเกงลงมา
- ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
- ปัสสาวะหรืออุจจาระ
- ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
- ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
- กดชักโครกหรือตักน้ำราด
- ดึงกางเกงขึ้น
- ล้างมือ
- เช็ดมือ
- เดินออกจากห้องส้วม

สรุป
- ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
- ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
- ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
- ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
- เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
- พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
- อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น -----------------------> ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
- การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
- ต่อบล็อก
- ศิลปะ
- มุมบ้าน
- ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
- รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ
- จากการสนทนา
- เมื่อเช้าหนูทานอะไร
- แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน
- เล่นเกมทายของที่หายไป
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
           ได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กพิเศษที่ถูกต้อง และยังมีข้อมูลเรื่องบทบาทหน้าที่ของครูในการปฏิบัติตัวในการดูแลเด็กพิเศษและเทคนิคต่างๆในการควบคุมชั้นเรียน เเละรวมไปถึงการเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมอีกด้วย
ประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินเพื่อน   เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนไม่พูดคุยเสียงดังขณะที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีเรื่องเล่าที่เป็นคติสอนใจมาให้ฟังเสมอ พร้อมทั้งยังคอยให้คำแนะนำนักศึกษาเป็นอย่างดี เเต่งกายเรียบร้อยยิ้มแย้มเเจ่มใสตลอดเวลา ><