วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันพุธ ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560

***สอบกลางภาค***
Midterm Exam



บันทักการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันอังคาร ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนเกษมพิทยา

            วันนี้ครูให้นักศึกษาทุกคนเข้ามาศึกษาดูงานในเรื่องของ การจัดการเรียนการสอนเเบบเรียนรวม ของโรงเรียนเกษมพิทยา โดยอาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาสังเกตพฤติกรรมของเด็กพิเศษ จุดเด่นและจุดที่ต้องได้รับการพัฒนา รวมไปถึงพัฒนาการและการส่งเสริม โดยศึกษาข้อมูลจากครูหรือรุ่นพี่ฝึกสอน

             ทุกเช้าของการเรียนการสอน เด็กๆจะมารวมกันเข้าเเถวเคารพธงชาติหน้าเสาธง และออกกำลังกายแอรโรบิคแดนซ์ร่วมกันโดยมีน้องๆอนุบาลหนึ่งห้องออกมาเป็นผู้นำ และจะสับเปลี่ยนกันไปในเเต่ละวันจนครบทุกห้อง


             ต่อมาคุณครูทางโรงเรียนให้นักศึกษาและอาจารย์ที่มาศึกษาดูงานจากเชียงรายเข้าห้องประชุม เพื่อเเนะนำโรงเรียนและการจัดเรียนการสอนภายในโรงเรียน โดยโรงเรียนเกษมพิทยามีโครงการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม คือการรับเด็กพิเศษเข้ามาเรียนกับเด็กปกติ และโรงเรียนเกษมพิทยา จะเปิดรับสมัครนักเรียนโดย ไม่เน้นเรื่องของอายุ เเต่จะเน้นพัฒนาการ โดยมีท่าน ดร.วรนาท รักสกุลไทย เป็นผู้อำนวยการแผนกอนุบาล และท่านศรีวรรณ สายฟ้า เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน


การจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวม
ห้องอนุบาล 3/2
ครูที่ปรึกษา คุณครูกัลยา เทพวงษ์ (คุณครูจก)
นักศึกษาฝึกสอน
1. นายธนรัตน์ วุฒิชาติ (คุณครูบอส)
2. นางสาวจิราวรรณ จันทร์หนองหว้า (คุณครูหน่อย)
3. นางสาวนีรนุช วงษ์อิสลาม (คุณครูนี)

ชื่อ: เด็กชายรัฐนันท์ นิธิวุฒิวรรักษ์
ชื่อเล่น : น้องเน็ต
เพศ : ชาย
อายุ : 7 ปี
ประเภท : ดาวน์ซินโดรม
พฤติกรรมที่พบเห็น
- น้องเน็ตอารมณ์ดี ร่าเริง
- น้องเน็ตมีปัญหาด้านสายตาร่วมด้วย
- ในช่วงกิจกรรมเล่นเครื่องเล่นสนาม น้องเล่นโยนลูกบอลกับเพื่อนๆ แล้วมีเสียงพูด อื้ออ... เอ้ยๆไปด้วย
- น้องเน็ตชอบถ่ายรูป เมื่อได้ถ่ายรูปแล้วน้องจะไม่สนใจสิ่งรอบข้าง
- คุรครูบอสบอกว่า น้องค่อนข้างมีอารมณ์อ่อนไหว ถ้าบอกว่า "ไม่รักแล้ว จะไปไหนก็ไปเลย" น้องเน็ตจะร้องไห้เสียใจออกมา 
- เวลาเล่นกับเพื่อน น้องจะตีเพื่อนเพราะอยากเล่นด้วย
- น้องเน็ตชอบอยู่กับครูและจะขอความช่วยเหลือจากครูโดยการสะกิดแล้วชี้ไปในสิ่งที่ต้องการ
- การพูดภาษาของน้องจะยังไม่ชัดเจน
- น้องเน็ตชอบทำกิจกรรมเคลื่อนไหว เมื่อทำกิจกรรมเคลื่อนไหวน้องสามารถเคลื่อนไหวได้ดี
- น้องเน็ตเข้าใจคำสั่งของคุณครู เเต่จะทำช้ากว่าเพื่อน
- คุณครูบอสบอกว่าน้องเน็ตชอบฟังนิทาน เมื่อทำกิจกรรมภาษาอังกฤษในห้องน้องตั้งใจฟังนิทาน น้องนั่งดูครูผู้สอน และนั่งเงียบๆเรียบร้อยในขณะที่เด็กคนอื่นจะเข้าไปใกล้ๆครู
- น้องเน็ตจะเข้าไปกอดเเละหอมแก้มเพื่อนบ้าง


 

 
ชื่อ : เด็กหญิงณิชารีย์ คอลล์
ชื่อเล่น : น้องณิชา
เพศ : หญิง
อายุ : 6 ขวบครึ่ง
ประเภท : ออทิสติกแฝง
พฤติกรรมที่พบเห็น
- น้องณิชามีปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์ ถ้าอะไรที่ไม่ถูกใจน้องจะร้องไห้
- น้องณิชาชอบเล่นอยู่กับเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง
- น้องมีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ
- เมื่อทำกิจกรรมภาษาอังกฤษ น้องสามารถตอบคำถามคุณครูได้ เเละเล่าเรื่องราวของตนเองเกี่ยวกับเรื่องที่ครูเล่าได้
- น้องณิชาสื่อสารกับคุณครูบอสโดยการจับมือคุณครูมาจับหน้าตนเองเพื่อบอกให้รู้ว่าไม่สบาย
- กิจกรรมเคลื่อนไหวภาษาอังกฤษ น้องณิชาเคลื่อนไหวตามคำสั่งของครูได้และหัวเราะสนุกสนาน
- น้องณิชาควรได้รับการช่วยเหลือทางด้านสังคม แต่น้องสามารถทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆได้


                  ท่านผู้อำนวยการกล่าวปิดงาน และทางนักศึกษาสาขาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมมอบของที่ระลึก และกล่าวขอบคุณที่ทางโรงเรียนได้ให้โอกาสนักศึกษาได้เข้ามาดูงาน ได้มาเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวม และพวกเราจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขอบคุณค่ะ ^^


ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
           วันนี้ได้มาเห็นสถานการณ์จริงและพฤติกรรมจริงๆที่เกิดขึ้นของน้องที่มีความต้องการพิเศษ ทำให้มีความรู้มากขึ้นและมีวิธีที่จะช่วยส่งเสริมและดูแลจัดการเรียนการสอนให้น้องได้มีพัฒนาการเท่าๆกับเพื่อน ได้รู้ว่าน้องมีความสามารถที่เหมือนกับเด็กทั่วๆไปเพียงเเค่ต้องไดรับการกระตุ้นให้มากขึ้น

ประเมินผล
ประเมินตนเอง เเต่งกายเรียบร้อย ตรงเวลา ตั้งใจสังเกตพฤติกรรมเด็ก ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนอย่างดี 
ประเมินเพื่อน   เพื่อนเป็นระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจทำหน้าที่ของตนเอง
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เป็นกันเองกับนักศึกษา ให้ความรู้และคอยดูแลนักศึกษาเป็นอย่างดี

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 
วันพุธ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560

***ไม่มีการเรียนการสอน***

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันพุธ ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities)

- เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability)
- เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
- ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
สาเหตุของ LD
- ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
- กรรมพันธุ์

1. ด้านการอ่าน  (Reading Disorder)
- หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
- อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
- ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
ตัวอย่าง
หาว -------------------------> หาม/หา
ง่วง --------------------------> ม่วง/ม่ง/ง่ง
เลย --------------------------> เล
อาหาร -----------------------> อาหา
เก้าอี้ -------------------------> อี้
อรัญ --------------------------> อะรัย

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
- อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
- อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
- เดาคำเวลาอ่าน
- อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
- อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
- ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
- ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
- เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้
2. ด้านการเขียน  (Writing Disorder)
- เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
- เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
- เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
- ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
- เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
- เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น ม-นภ-ถด-คพ-ผ, b-d, p-q, 6-9
- เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
- เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
- เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด

ตัวอย่าง
ปาลแผล -----------------------------> บาดแผล
รัมระบาล -----------------------------> รัฐบาล
ผีเสื้อมดุร -----------------------------> ผีเสื้อสมุทร
ไกรรง ---------------------------------> กรรไกร
เกสรกะ -------------------------------> เกษตรกร
ดักทุก --------------------------------> บรรทุก
เสรฐ ----------------------------------> สำเร็จ
ไอระ ----------------------------------> อะไร
เชิย -----------------------------------> เชย
โบณาร -------------------------------> โบราณ
นาสือ ---------------------------------> หนังสือ
ละเมย ---------------------------------> ละเมอ
- จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
- สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
- เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
- เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
- ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง

3. ด้านการคิดคำนวณ  (Mathematic Disorder)
- ตัวเลขผิดลำดับ
- ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
- ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
- แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
ตัวอย่าง
16 + 8 = 24
เด็กปกติ
เด็ก LD.

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
- ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
- นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
- คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
 - จำสูตรคูณไม่ได้
- เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
- ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
- ตีโจทย์เลขไม่ออก
- คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
 -ไม่เข้าใจเรื่องเวลา

4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
1. แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
2. มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
3. เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
4. งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
5. การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
6. สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
7. เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
8. ทำงานช้า
9. การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
10. ฟังคำสับสน
11. คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
12. ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
13. ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
14. ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
15. ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน


ออทิสติก (Autistic)

- หรือ ออทิซึ่ม (Autism)
- เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
- ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
- ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
- เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
- ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 
ทักษะภาษา
ทักษะทางสังคม
ทักษะการเคลื่อนไหว
ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่
ลักษณะของเด็กออทิสติก
- อยู่ในโลกของตนเอง
- ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
- ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
- ไม่ยอมพูด
- เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
ตัวอย่าง
ดูหน้าแม่ --------------------------------------> ไม่มองตา
หันไปตามเสียง -------------------------------> เหมือนหูหนวก
เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม -------------------------> เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด
ร้องเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้ -------------> ไม่สนใจคนรอบข้าง
จำหน้าแม่ได้ ----------------------------------> จำคนไม่ได้
เปลี่ยนของเล่น -------------------------------> นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
เคลื่อนไหวอย่างมีจุดมุ่งหมาย --------------> มีพฤติกรรมแปลกๆ
สำรวจและเล่นตุ๊กตา -------------------------> หมหรือเลียตุ๊กตา
ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ ------------> ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัวเอง ทำร้านคนอื่นโดยไม่มีสาเหตุ

เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติกองค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา
ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
- ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
- ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
- ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
- ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น
ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ
- มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
- ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
- พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
- ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ
- มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
- มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
- มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
- สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ

พฤติกรมการทำซ้ำ
- นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
- นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
- วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
- ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
พบความผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)
- ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
- การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
- การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการไม่สามารถวินิจฉัยให้เข้าข่ายโรคใดๆได้
ออทิสติกเทียม
1. ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ
2. ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอเเพด
3. ดูการ์ตูนในทีวี
Autistic Savant- กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker) จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)- กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker) จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)
ได้แก่
1. Iris Grace เก่งด้านงานศิลปะ

2. Daniel tammet คิดคำนวณคณิตศาสตร์วิธีที่ไม่เหมือนใครโดยการใช้สี

3. Kim Peek ความสามารถในการอ่านและจำได้

4. Tony Deblois ความสามารถเก่งด้านดนตรี

5. Alonzo Clemons ความสามารถในการแกะสลัก

6. Stephen Wiltshire มีความสามารถในการวาดผังเมือง

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
           ได้ความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษประเภทต่างๆเพิ่มเติม ซึ่งจากที่เคยได้เรียนมาแล้ว และเมื่อเรียนวันนี้ทำให้ได้ทบทวนความรู้เดิม อีกทั้งมีความรู้เสริมใหม่ๆที่บางเรื่องอาจยังไม่รู้เข้ามาเพิ่มเติมอีกด้วย

ประเมินผล
ประเมินตนเอง เเต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน   เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนไม่พูดคุยเสียงดังขณะที่อาจารย์สอน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ยิ้มเเย้มเเจ่มใสเป็นกันเองกับนักศึกษาเสมอ มีการยกตัวอย่างกรณีเด็กๆที่อาจารย์เคยได้พบมาประกอบเนื้อหาเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย